บริการสำหรับคนไทย
หนังสือเดินทางไทย
หนังสือเดินทางไทย (ปรับปรุงล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2565)
ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องไปทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง และหนังสือเดินทางจะถูกผลิตที่กรมการกงสุล กรุงเทพฯ จึงต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งเล่มมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ประมาณ 4-6 สัปดาห์
เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
- แบบคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ใบ (กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย) ดาวน์โหลดที่นี่
- แบบฟอร์มหนังสือยืนยันความถูกต้อง 1 ใบ (กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย) ดาวน์โหลดที่นี่
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน และสำเนา 1 ใบ
- บัตรประชาชนไทยตัวจริง และสำเนา 1 ใบ (หากไม่มีบัตรประชาชนไทยให้ดู “หลักการพิจารณาการออกหนังสือเดินทาง” ด้านล่าง)
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ
- รูปถ่าย 1 ใบ
- ค่าธรรมเนียม (เตรียมให้ครบตามจำนวน และเป็นธนบัตร หรือ ชำระด้วยบัตร Bancontact)
- 35 ยูโร สำหรับ หนังสือเดินทางอายุ 5 ปี
- 50 ยูโร สำหรับ หนังสือเดินทางอายุ 10 ปี
- กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากตำรวจ (ในใบแจ้งความให้มีการระบุว่าหนังสือเดินไทยหาย พร้อมระบุหมายเลขหนังสือเดินทางไทยที่สูญหาย)
- เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นใบเปลี่ยนชื่อ
เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์) ***ดูหมายเหตุข้อ 1 และ 2 ประกอบ***
- แบบคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ใบ (กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย) ดาวน์โหลดที่นี่
- แบบฟอร์มหนังสือยืนยันความถูกต้อง 1 ใบ (กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย) ดาวน์โหลดที่นี่
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน และสำเนา 1 ใบ
- สำเนาสูติบัตรไทย 1 ใบ
- สำเนาทะเบียนสมรสของบิดา-มารดา หรือ เอกสารแสดงความเกี่ยวพันและอำนาจปกครองบุตร 1 ใบ
- บัตรประชาชนตัวจริงของบิดา และสำเนา 1 ใบ (ใช้บัตรประชาชนไทยหากบิดาเป็นคนไทย และใช้บัตรประชาชนท้องถิ่น/หนังสือเดินทางฉบับจริงหากบิดาไม่ใช่คนไทย)
- บัตรประชาชนตัวจริงของมารดา และสำเนา 1 ใบ (ใช้บัตรประชาชนไทยหากมารดาเป็นคนไทย และใช้บัตรประชาชนท้องถิ่น/หนังสือเดินทางฉบับจริงหากบิดาไม่ใช่คนไทย)
- บัตรประชาชนไทยตัวจริง และสำเนา 1 ใบ (กรณีผู้ร้องอายุ 7 ปีเป็นต้นไปให้แสดงบัตรประชาชน หากอายุต่ำกว่า 7 ปีให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านแทน หรือ หากไม่มีบัตรประชาชนไทยให้ดู “หลักการพิจารณาการออกหนังสือเดินทาง” ด้านล่าง)
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ (ดูหมายเหตุข้อ 1)***
- รูปถ่าย 1 ใบ
- ค่าธรรมเนียม 35 ยูโร (เตรียมให้ครบตามจำนวน และเป็นธนบัตร หรือชำระด้วยบัตร Bancontact) *ผู้เยาว์สามารถทำหนังสือเดินทางที่มีอายุ 5 ปีได้เท่านั้น*
- เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- กรุณาศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการออกหนังสือเดินทางในตารางข้างล่างเพิ่มเติม
***หมายเหตุ***
- กรณีผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ที่เกิดในต่างประเทศและมายื่นขอทำหนังสือเดินทางที่ ไม่ใช่เล่มแรก ผู้ปกครองต้องเพิ่มชื่อผู้เยาว์เข้าทะเบียนบ้านที่ไทยก่อน และต้องมีเลขประจำประชาชน 13 หลักมายื่น (หากไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้และมีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทย ให้ติดต่อมาที่ passport.brs@mfa.go.th)
- บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ บิดาและมารดาจะต้องลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากไม่สามารถมาได้ต้องมีเอกสารมาแสดงดังนี้
- กรณีที่ผู้เยาว์อยู่กับบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องมีหนังสือปกครองบุตร (ปค. 14) มาแสดง และ สำเนา 1 ชุด
- กรณีบิดาและมารดาหย่าให้นำใบหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุุการให้อำนาจปกครองบุตรของผู้ปกครองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว และสำเนา 1 ชุด
- กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ให้นำใบมรณบัตรมาแสดง และสำเนา 1 ชุด
- หรือหนังสือให้ความยินยอมจากบิดา/มารดา ฉบับจริง อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของบิดา/มารดา มาแสดง (ขอทำหนังสือให้ความยินยอมได้ที่อำเภอ/เขต กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย หรือ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศที่ท่านพำนัก)
หลักการพิจารณาการออกหนังสือเดินทาง
1. ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
1.1 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น
1.2 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยก่อน
คำแนะนำ = ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อน หรือหากยังไม่มีโอกาสกลับไทย ให้มอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยแทน
(ขอให้ท่านสอบถามรายละเอียด ณ ที่ว่าการอำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร และจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย)
– หากที่ว่าการอำเภอฯ อนุญาตให้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านโดยการมอบอำนาจได้ ท่านสามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนัดหมายในระบบออนไลน์ และตรวจสอบรายละเอียดเอกสารสำหรับนำไปยื่นขอหนังสือมอบอำนาจได้ในเว็บไซต์นี้ หรือส่งอีเมล์สอบถามข้อมูลได้ที่ consular.brs@mfa.go.th
2. ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
2.1 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
- ยังไม่มีบัตรประชาชนไทย
คำตอบ = ท่านสามารถยื่นทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น
หากจะทำเล่มต่อไปขอให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
2.2 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
- ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทยใบแรก
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้
คำแนะนำ = ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
2.3 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
- มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
- ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย กรณีกำลังศึกษาในต่างประเทศ ยังกลับไปทำบัตรฯ ใบแรกในไทยไม่ได้
คำตอบ = สามารถยื่นทำหนังสือเดินทางใหม่ได้หากกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่ โดยต้องมีหนังสือรับรองจาก
สถานศึกษาที่ผู้ร้องกำลังศึกษาอยู่ประกอบกับคำร้อง
– ขอให้หนังสือรับรองจากสถานศึกษาเป็นภาษาอังกฤษหรือไทย แต่ถ้าหากเป็นภาษาอื่นต้องแปลโดยนักแปลสาบานตน (Sworn Translator) ก่อน
– แล้วนำหนังสือรับรองจากสถานศึกษาดังกล่าวพร้อมคำแปลไปรับรองนิติกรณ์ (Legalisation) ที่กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก (Ministry of Foreign Affairs Belgium/Luxembourg)
คำแนะนำ = การแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย หากยังไม่มีโอกาสกลับไทย สามารถมอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้า
ทะเบียนบ้านแทนโดย
– ขอให้ท่านสอบถามรายละเอียดที่อำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร
และจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย
– การทำหนังสือมอบอำนาจสามารถยื่นขอทำได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดย นัดหมายในระบบออนไลน์ และตรวจสอบรายละเอียดเอกสารสำหรับนำไปยื่นขอหนังสือมอบอำนาจได้ในเว็บไซต์นี้
หรือส่งอีเมล์สอบถามได้ที่อีเมล์ดังนี้ consular.brs@mfa.go.th
2.4 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
– เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
– มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
– มีบัตรประชาชนไทยแล้ว แต่ยังมีคำนำหน้าชื่อในบัตรเป็น ด.ช. / ด.ญ. (กรณีที่ผู้ร้องมีอายุ 15 ปีเป็นต้นไป)
คำตอบ = ต้องนัดหมายทำบัตรประชาชนใหม่ก่อนที่ https://appointmentthaiembassybrs.simplybook.it/v2/#book แล้วจึงสามารถยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางใหม่ได้
3. บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
3.1 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
- ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)
หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ passport.brs@mfa.go.th ราว 2 เดือนก่อนการเดินทาง * ETD
3.2 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
- เคยมีหนังสือเดินทางไทยเล่มแรกแล้ว
- มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
- แต่ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย
คำตอบ = ยังทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)
หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ passport.brs@mfa.go.th ราว 2 เดือนก่อนการเดินทาง *ETD
3.3 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- เพิ่งขอจดสูติบัตร (ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
- ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย
- ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
- ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกมีอายุ 5ปี ได้เท่านั้น
คำแนะนำ = สำหรับการทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน
(ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
3.4 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย
- มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
- ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกมีอายุ 5ปี ได้เท่านั้น
คำแนะนำ = สำหรับการทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
3.5 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- เคยขอหนังสือเดินทางแล้วหลายครั้ง
- มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
- บัตรประชาชนไทยหมดอายุไม่เกิน 3 ปี และในฐานข้อมูลราษฎร์แสดงภาพใบหน้าของผู้ร้องที่สามารถยืนยันตัวตนได้
คำตอบ = อนุโลมให้ยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางได้ หากในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์แสดงภาพใบหน้าของผู้ร้องที่สามารถยืนยันตัวตนได้
คำแนะนำ = ติดต่อนัดหมาย (ในระบบออนไลน์) เพื่อทำบัตรประชาชนใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
3.6 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
- เคยขอหนังสือเดินทางแล้วหลายครั้ง
- มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
- บัตรประชาชนไทยหมดอายุมานาน และในฐานข้อมูลราษฎร์ไม่แสดงภาพใบหน้าของผู้ร้อง
คำตอบ = ไม่ได้สามารถทำได้ ต้องทำบัตรประชาชนไทยใหม่ที่ไทยก่อน (*EP/ETD) หรือ ปรึกษาการทำบัตรประชาชนใหม่ โดยส่งอีเมล์มาที่ passport.brs@mfa.go.th พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนไทยฉบับเดิม สำเนาหนังสือเดินทางไทย บัตรแสดงถิ่นพำนักเบลเยียมและลักเซมเบิร์กที่แสดงใบหน้าชัดเจน และ เอกสารอื่นๆที่ออกโดยทางการไทยที่แสดงใบหน้าชัดเจน (หากมี) ก่อน แล้วจึงสามารถยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางใหม่ได้
*ETD/EP
*ETD/EP
Download
รายการเอกสารเพื่อใช้ทำหนังสือเดินทาง
หมายเหตุ: สามารถขอรับแบบฟอร์มที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้
บัตรประชาชนไทย
บุคคลใดมีสิทธิ์ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้
- ผู้ยื่นคำร้องจะต้องเคยมีบัตรประชาชนไทยมาก่อนแล้ว โดยที่บัตร
– หมดอายุ
– หาย ถูกทำลาย หรือชำรุด **กรณีบัตรหาย ต้องนำใบแจ้งความจากตำรวจที่ระบุว่า “บัตรประชาชนไทยหาย”อย่างชัดเจน**
– แก้ไขชื่อตัว-นามสกุล หรือที่อยู่** - ผู้ยื่นคำร้องจะต้องมีถิ่นพำนักในประเทศเบลเยียมและลักเซมเบิร์กเท่านั้น
**ท่านสามารถทำบัตรประชาชนได้ล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน**
เอกสารสำหรับการขอต่ออายุบัตรประชาชน มีดังนี้
- แบบฟอร์มคำร้องขอมีบัตรประชาชนที่กรอกข้อมูลเรียบร้อย กดที่นี่
- บัตรประชาชนไทยใบปัจจุบัน+สำเนา 1 ฉบับ ซึ่งต้องมอบคืนให้สถานเอกอัครราชทูตฯ
- บัตรประจำตัวผู้มีถิ่นพำนักในเบลเยียม หรือ ลักเซมเบิร์ก และ ข้อมูลบ้านเลขที่/ ที่อยู่ในเบลเยียม หรือ ลักเซมเบิร์ก + สำเนา 1 ฉบับ
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนสมรสไทย (หากมี)
- สำเนามรณบัตรไทยของคู่สมรส กรณีคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว (หากมี)
- กรณีบัตรหมดอายุ หรือ เหลืออายุไม่ถึง 60 วัน สถานทูตฯ ไม่เก็บค่าเทียบปรับหรือค่าธรรมเนียม แต่ต้องมีบัตรใบปัจจุบันมอบคืนให้สถานทูตฯ โดยผู้ร้องจะได้รับบัตรใหม่ในวันที่ทำ(ถ้าบัตรหมดอายุแล้ว แต่สูญหาย มีค่าธรรมเนียม 5 ยูโร)
หากท่านมีความประสงค์ ต้องการทำบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางในวันเดียวกัน (สถานทูตขอแนะนำให้ท่านทำการจองเวลาในวันเดียวกัน)
โดยจองเวลาทำบัตรประชาชนก่อน และจองเวลาทำหนังสือเดินทางต่อ **เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัตรประชาชน และฝ่ายหนังสือเดินทาง คนละแผนกกัน**
เมื่อท่านทำบัตรประชาชนเสร็จแล้ว ท่านจะได้รับบัตรใหม่เลย และจึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางได้ตามเวลาที่ท่านจองไว้
**ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้ ในกรณี
- ผู้ขอมีบัตรฯ ใบแรก
- ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
- ผู้ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ผู้ไม่พบข้อมูล หรือ เป็นบุคคลซ้ำซ้อน หรือ ข้อมูลไม่ตรงในฐานทะเบียนราษฎร ของ ก. มหาดไทย
- ผู้ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล คำนำหน้า ฯลฯ โดยไม่ตรงกับข้อมูลปัจจุบันในฐานทะเบียนราษฎร
ซึ่งบุคคลเหล่านี้ให้ไปติดต่ออำเภอ/ที่ทำการเขตในประเทศไทย เพื่อขอทำบัตรฯ
แจ้งเกิด
เอกสารประกอบการขอสูติบัตรไทย :
1. แบบคำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด ดาวน์โหลด
2. ใบเกิด
-
- Birth Certificate International Convention ที่มี 4 ภาษาในเอกสารฉบับเดียวคือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัชท์ ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ จากอำเภอที่เด็กเกิดและประทับตรารับรองใบเกิด (***สามารถยื่นได้ทั้งตราประทับที่เป็นแบบกระดาษและดิจิทัล***)
- หรือ ใบเกิดในภาษาท้องถิ่น (ฝรั่งเศส ดัชท์ หรือ เยอรมัน) แล้วนำไปแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษโดยนักแปลสาบานตน และนำไปรับรองต้นฉบับและคำแปลตามกระบวนการเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย
- ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม ที่อยู่: 27 Rue Petits Carmes, 1000 Brussels (สำหรับใบเกิดของประเทศเบลเยียม)
- ที่ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศลักเซมเบิร์ก ที่อยู่: 9 Rue du Palais de Justice, 1841 Luxembourg (สำหรับใบเกิดของประเทศลักเซมเบิร์ก)
3.ใบสำคัญการสมรส
- หากแต่งงานที่ประเทศไทย ให้แสดงสำเนาใบแต่งงาน 1 ใบ
- หากแต่งงานที่ประเทศเบลเยียม ให้แสดง Marriage Certificate International Convention และจะต้องประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียมหรือลักเซมเบิร์กเช่นเดียวกันกับใบเกิด
- หากแต่งงานในประเทศอื่น จะต้องดำเนินการแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย และดำเนินการรับรองนิติกรณ์ผ่านสถานเอกอัครราชทูตที่เกี่ยวข้อง
- หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด๋็กที่เกิดจากบิดาสัญชาติไทยและมารดาต่างชาติจะไม่มีสิทธิยื่นขอสูติบัตรไทยและสัญชาติไทยได้ทันที เว้นเสียแต่จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจดีเอ็นเอ(DNA)พิสูจน์ความความเป็นบุตร
- หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด๋็กที่เกิดจากมารดาสัญชาติไทยและบิดาต่างชาติ มีสิทธิยื่นขอสูติบัตรไทยและสัญชาติไทยได้ทันที โดยเด็กสามารถใช้นามสกุลมารดาได้ หากประสงค์ให้เด็กใช้นามสกุลบิดา จะต้องให้บิดาเขียนหนังสือให้ความยินยอม แต่ห้ามลงวันที่มาก่อน (กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
- หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด๋็กที่เกิดจากมารดาสัญชาติไทยและบิดาสัญชาติไทย มีสิทธิยื่นขอสูติบัตรไทยและสัญชาติไทยได้ทันที โดยเด็กสามารถใช้นามสกุลมารดาได้ หากประสงค์ให้เด็กใช้นามสกุลบิดา จะต้องให้บิดาเขียนหนังสือให้ความยินยอม แต่ห้ามลงวันที่มาก่อน (กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
4. สำเนาบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางของบิดาและมารดา อย่างละ 1 ใบ (หากบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทยโปรดใช้บัตรฯ ไทย และหนังสือเดินทางไทย)
5. สำเนาทะเบียนบ้านไทยของมารดา/บิดาที่มีสัญชาติไทย 1 ใบ
6. บัตรประจำตัวเบลเยียม/หนังสือเดินทางเบลเยียมของบุตร
7. ทะเบียนบ้านในเบลเยียม
8.สำเนาหลักฐานจากโรงพยาบาลที่ระบุชื่อโรงพยาบาลที่เด็กเกิด ระบุเวลาที่เด็กเกิด และระบุน้ำหนักเมื่อคลอด
(ใช้เวลารอประมาณ 3-4 สัปดาห์ในการออกสูติบัตรไทย)
***กรณีเด็กที่แจ้งเกิดอายุมากกว่า 10 ปี จะต้องมีรูปภาพเด็กตลอดช่วงเวลาจนถึงปัจจุบัน
อนึ่ง เอกสารในข้อ 1 และข้อ 2 หากเป็นใบ International ซึ่งมีภาษาอังกฤษอยู่ด้วยไม่ต้องแปล แต่ถ้าหากเป็นภาษาท้องถิ่นเช่น ดัทช์ หรือ ฝรั่งเศส ต้องแปลเป็นภาษาไทย
และทั้งข้อ 1 และ 2 ต้องผ่านการรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของเบลเยียมหรือลักเซมเบิร์กมาก่อน
แจ้งเสียชีวิต
เอกสารประกอบการแจ้งเสียชีวิต มีดังนี้
คำร้องขอจดทะเบียนการเสียชีวิต ดาวน์โหลดที่นี่
เอกสารของผู้เสียชีวิต :
- มรณบัตรจากทางการท้องถิ่นเบลเยียม แบบ International Convention (มี 4 ภาษาคือ ดัชต์ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ) และนำไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย 1 ใบ
- สำเนาบัตรประชาชนไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ
- หนังสือรับรองสาเหตุการตายจากแพทย์/โรงพยาบาล
เอกสารของผู้แจ้งฯ :
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย 1 ใบ
- บัตรประชาชนไทย 1 ใบ
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ
ขั้นตอนการเคลื่อนย้าย/นำศพหรืออัฐิส่งออกนอกประเทศไทย คลิกที่นี่
จดทะเบียนสมรส
ข้อมูลทั่วไป
การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย แต่ในทางกฎหมายของเบลเยียมไม่ถือว่ามีผลตามกฎหมายเบลเยียม
หากต้องการให้การสมรสมีผลตามกฎหมายเบลเยียม ควรติดต่อขอจดทะเบียนต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นของเบลเยียม
- การขอจดทะเบียนฯ กรุณาติดต่อนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ และจะต้องส่งเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อตรวจและเตรียมจัดพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- การจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม
หลักฐานประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนสมรส
- คำร้องขอจดทะเบียนสมรส และ บันทึกถ้อยคำการจดทะเบียนสมรส ซึ่งกรอกรายละเอียดและลงชื่อโดยคู่สมรสแล้ว
- หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของคู่สมรส
- บัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- ในกรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนและหย่าแล้ว ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย
- ในวันจดทะเบียนสมรส กรุณานำพยานไปด้วย 2 คน พร้อมหนังสือเดินทาง/บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของพยาน
- ใบรับรองโสด ของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย (สำหรับคนไทย สามารถติดต่อขอรับใบรับรองความเป็นโสดได้ที่ที่ว่าการอำเภอฯ หรือ สำนักงานเขตฯ ที่ประเทศไทย) เพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
จดทะเบียนหย่า
ข้อมูลทั่วไป
การจดทะเบียนหย่า การจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย โดยต้องมีต้นฉบับทะเบียนสมรสไทยมาแสดงทั้งสองฝ่าย
- การขอจดทะเบียนฯ กรุณาติดต่อนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ และจะต้องส่งเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อตรวจและเตรียมจัดพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- การจดทะเบียนหย่า ไม่เสียค่าธรรมเนียม
หลักฐานประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนหย่า มีดังนี้
- คำร้องขอจดทะเบียนหย่า ซึ่งกรอกรายละเอียดและลงชื่อโดยคู่หย่าแล้ว
- ต้นฉบับทะเบียนสมรสไทยของทั้งสองฝ่าย
- หนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุของทั้งสองฝ่าย
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่าย
- สัญญาการหย่า
- ในวันจดทะเบียนหย่า กรุณานำพยานไปด้วย 2 คน พร้อมหนังสือเดินทาง/บัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของพยาน
ทั้งนี้หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว การขอหนังสือรับรองสถานะทางครอบครัว (ใบรับรองโสด) นั้น ผู้ยื่นจำเป็นต้องดำเนินการติดต่อขอรับเอกสารนี้จากที่ว่าการอำเภอฯ หรือ สำนักงานเขตฯที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยหากไม่สะดวกเดินทางไปเอง สามารถขอเอกสารมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ที่สถานเอกอัครทูตฯ (ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร ต่อฉบับ)
ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร
หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในการขอผ่อนผันไม่ต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามหมายเรียก ตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ของนักศึกษา/นักเรียนที่ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ดังนี้
- การยื่นขอผ่อนผันฯ จะต้องให้นักเรียนผู้ประสงค์ขอผ่อนผันหรือบิดามารดาหรือผู้ปกครองไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร
- หลักฐานประกอบในการขอผ่อนผัน
- หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษา โดยระบุหลักสูตรการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร
ถ้านักศึกษาอยู่ในระหว่างการฝึกงาน สถาบันการศึกษาจะต้องรับรองว่าการฝึกงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา
- หนังสือรับรองการฝึกงานของสถาบันหรือบริษัทที่รับเข้าฝึกงาน
- เอกสารที่เกี่ยวข้องถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นภาษาไทยกำกับและลงชื่อตำแหน่งผู้แปล
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสงค์ผ่อนผันและผู้ยื่นคำร้องแทน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์ผ่อนผันและผู้ยื่นคำร้องแทน
- สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด. 9) และสำเนาหมายเรียกฯ (แบบ สด. 35) ของผู้ประสงค์ผ่อนผัน
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสงค์ผ่อนผัน (ทุกหน้าที่มีการบันทึก)
- ถ้าเป็นการยื่นคำร้องขอผ่อนผันภายหลังจากที่นักศึกษาได้เดินทางไปต่างประเทศแล้ว ต้องมีหนังสือรับรองของสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยหรือผู้ดูแลนักเรียนไทยที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศที่ไปศึกษาวิชานั้นรับรองว่า นักเรียนผู้นั้นกำลังศึกษาวิชาอะไร อยู่ที่สำนักศึกษาใด ประเทศใดและมีกำหนดการศึกษากี่ปี
- การยื่นขอผ่อนผันฯ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการตรวจเลือกฯ ของอำเภอนั้น รายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกฯ (แบบ สด.35)
การขึ้นทะเบียนทหารกองเกินและขอผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหาร สำหรับนักเรียนและนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศ (เบลเยียมและลักเซมเบิร์ก)
ชายที่มีสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร โดย
- เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน โดย แสดงหลักฐานสูติบัตรหรือบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านต่อสัสดีท้องที่ด้วยตนเอง หรือกรณีไม่สามารถไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะไปแจ้งแทน ถ้าไม่ไปหรือไม่มีผู้ไปแจ้งแทน ถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน
- เมื่ออายุครบ 21 ปี ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อเป็นทหารตามภูมิลำเนาที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย สำหรับชายที่มีสัญชาติไทยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก สามารถขอผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารได้ โดยต้องแสดงหลักฐานเอกสารต่อไปนี้
- หนังสือรับรองจากสถานศึกษาที่ตนกำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่โดยระบุรายละเอียดดังนี้
2.1.1 ชื่อ นามสกุลของนักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่
2.1.2 กำลังศึกษาในระดับ คณะ สาขาวิชา สถาบันศึกษา ประเทศอะไร
2.1.3 เริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่ปีใด และคาดว่าจะจบการศึกษาในปีใด
2.1.4 วิชาที่ศึกษามีหลักสูตรกี่ปี (นำหลักฐานของสถาบันศึกษามาประกอบ)
2.1.5 หนังสือรับรองต้นฉบับจากสถาบันการศึกษาต้องนำไปรับรองลายมือชื่อโดยกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก
2.1.6 หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาจะต้องแปลเป็นภาษาไทยพร้อมลงชื่อรับรองการแปล
ถูกต้องแล้ว (นักศึกษาสามารถแปลเองได้ รับรองเองได้)
- สำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9) และสำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.35) ถ้ามี
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย
- สำเนาบัตรประชาชน (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย
- หนังสือรับรองซึ่งออกโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ทั้งนี้ ต้องติดต่อขอหนังสือรับรองนี้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง พร้อมเอกสารข้อ 2.1 4 และ 2.5
- นำเอกสารทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น (ข้อ 2.1 ถึง ข้อ 2.6) ไปยื่นต่อสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้านด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะไปยื่นแทน
- เมื่อสำเร็จการศึกษาในต่างประเทศแล้ว ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการในโอกาสแรกที่มีการตรวจเลือกบุคคลเข้ารับราชการทหาร
- หรืออาจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารบก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส (มีเขตอาณาดูแลเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก :Office of the Defence Attache, 8 Rue Greuze 75116 Paris, France (33-1) 56 26 07 30 Fax. (33-1) 56 26 04 51
การขอสละสัญชาติไทย กรณีคนไทยสมรสกับคนต่างด้าว
ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. หญิงสัญชาติไทยสมรสกับคนต่างด้าว ประสงค์จะสละสัญชาติไทยไปถือสัญชาติของสามี ให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.ช.1
(1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
(2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
(3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย
ในประเทศนั้น
2. เอกสารหลักฐานของผู้ขอ
(1) ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส หรือทะเบียนแห่งฐานะครอบครัว
(2) ทะเบียนบ้าน
(3) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด
(4) บัตรประจำตัวประชาชน
(5) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่ากฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามีมีบทบัญญัติหรือยินยอมให้เข้าถือสัญชาติของสามีได้ (หนังสือรับรองการขอเข้าถือสัญชาติของสามี)
(6) หนังสือเดินทาง
(7) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (ถ้ามี)
(8) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (ถ้ามี)
(9) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)
3. เอกสารหลักฐานของสามีผู้ขอ
(1) หนังสือเดินทาง
(2) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)
4. ค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510
ข้อ 12 (6) คำขออื่นๆ ฉบับละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน)
5. รายละเอียดเพิ่มเติม
(1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
(2) หนังสือรับรองการขอเข้าถือสัญชาติของสามี ตามข้อ 2 (5) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้อง
(3) นำพยานบุคคล จำนวน 2 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง
การขอสละสัญชาติไทย กรณีเด็กไทยที่มีสองสัญชาติ และหรือคนไทยกรณีอื่นๆ
ตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. ให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.ช.2
(1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
(2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
(3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น
2. เอกสารหลักฐานของผู้ขอ
(1) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด
(2) ทะเบียนบ้าน
(3) บัตรประจำตัวประชาชน
(4) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (ถ้ามี)
(5) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (ถ้ามี)
(6) ใบสำคัญทหาร (สด.9)
(7) หนังสือรับรองของประเทศที่ได้เข้าถือสัญชาตินั้น
(8) หลักฐานเอกสารของบิดาและมารดา
(9) หนังสือเดินทาง
(10) รูปถ่ายของผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)
(11) รูปถ่ายของบิดามารดาผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)
3. ค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510
ข้อ 12 (6) คำขออื่นๆ ฉบับละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน)
4. รายละเอียดเพิ่มเติม
(1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
(2) หนังสือรับรองของประเทศที่ได้เข้าถือสัญชาตินั้น ตามข้อ 2 (7) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้อง
(3) นำพยานบุคคล จำนวน 2 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง
(4) ผู้ยื่นคำขอต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
ติดต่อสอบถาม
งานสละสัญชาติไทย ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
ตั้งอยู่ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 6 ชั้น 1 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. 0-2205-2698 (ในเวลาราชการ)
ที่มา: https://sbpolice.go.th/en/page/requestingrenunciationofthainationality_127.html
การขอกลับคืนสัญชาติไทย กรณีสละสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าวและได้ขาดจากการสมรสแล้ว
ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ให้ยื่นคำขอตามแบบ ก.ช.2
(1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
(2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
(3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย
ในประเทศนั้น
- เอกสารหลักฐานของผู้ขอ
(1) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด
(2) ทะเบียนบ้าน (แบบ ทร.13)
(3) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(4) เอกสารหลักฐานการขาดจากการสมรส
(5) ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส หรือทะเบียนแห่งฐานะครอบครัว
(6) เอกสารหลักฐานการเข้าถือสัญชาติของสามี
(7) เอกสารหลักฐานการเสียสัญชาติไทย (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเสียสัญชาติไทย ซึ่งได้ลงประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว)
(8) หนังสือเดินทาง
(9) เอกสารหลักฐานการศึกษาในประเทศไทย (ทะเบียนนักเรียน)
(10) เอกสารหลักฐานเคยช่วยเหลือการกุศล หรือสาธารณประโยชน์
(11) รูปถ่ายของผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)
- ค่าธรรมเนียม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510
ข้อ 12 (5) คำขออื่นๆ ฉบับละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
- รายละเอียดเพิ่มเติม
(1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไข่ให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน
(2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (4), (5) และ (6) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้อง
(3) นำพยานบุคคล จำนวน 4 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง
ที่มา https://sbpolice.go.th/