บริการเอกสารและนิติกรณ์
- หนังสือมอบอำนาจ
- หนังสือให้ความยินยอมให้บุตรไปทำหนังสือเดินทาง
- การรับรองนิติกรณ์เอกสารที่จะนำไปใช้ในประเทศไทย
- ใบรับรองสัญชาติ (Certificate of Nationality)
- ใบจารีตประเพณี (Certificate of Custom)
- การรับรองลายมือชาวต่างชาติ
- การนำเอกสารไทยมาใช้ในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก
- การนำเถ้ากระดูกเข้าประเทศไทย
- การพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อใช้การขอหนังสือรับรองความประพฤติ
- หนังสือรับรองเพื่อซื้อขายที่ดิน(กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ)
- ข้อมูลสำหรับชาวเบลเยียมและลักเซมเบิร์กที่จะแต่งงานในประเทศไทย
การขอรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือให้ความยินยอม
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องนิติกรณ์เพื่อการขอหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
- แบบฟอร์มขอยื่นคำร้องนิติกรณ์ คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- หนังสือมอบอำนาจทั่วไป คลิกที่นี่ (ต้องมาลงนามด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เท่านั้น)
-
- มอบอำนาจให้ยื่นขอคัดสำเนาสูติบัตร/ หนังสือรับรองการเกิด
- ยื่นขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส(ใบรับรองโสด)
- นำเอกสารไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กระทรวงการต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม หรือ ลักเซมเบิร์ก ประจำประเทศไทย
- ขอหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร(ป.ค.14) (พร้อมสูติบัตรบุตร จำนวน 2 ชุด) เป็นต้น
เอกสารของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 4 ฉบับ
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 4 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 4 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล 4 ฉบับ
เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ประเทศไทย
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 4 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 4 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล 4 ฉบับ
หนังสือมอบอำนาจเรื่องอื่นๆ
- หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด. 21) คลิกที่นี่ (พร้อมสำเนาโฉนดที่ดิน จำนวน 2 ชุด)
- หนังสือมอบอำนาจอาคารชุด (อ.ช.21) คลิกที่นี่ (พร้อมสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดจำนวน 2 ชุด)
- หนังสือให้ความยินยอม คลิกที่นี่ (กรณียินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทางและเดินทางไปต่างประเทศได้) + สำเนาสูติบัตรบุตร และ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
- หนังสือให้ความยินยอมและมอบอำนาจ คลิกที่นี่ (กรณีมอบอำนาจให้ญาติที่ไทยพาบุตรไปทำหนังสือเดินทางและไปขอวีซ่าให้บุตร) + สำเนาสูติบัตรบุตร และ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
เอกสารของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 2 ฉบับ
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 2 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ประเทศไทย
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) 2 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
ค่าธรรมเนียมฉบับละ 15 ยูโร (ชำระเป็นเงินสด เป็นธนบัตรครบตามจำนวน หรือ ชำระด้วยบัตร Bancontact)
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
-
ตัวอย่างการเตรียมเอกสาร
ตัวอย่างที่ 1
- หากท่านประสงค์ที่จะมอบอำนาจให้ นาย เอ ไปขอคัดสำเนาสูติบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอฯ เพียง 1 หน่วยงาน ท่านจะต้องเตรียม
- แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
- เอกสารของท่าน (สำเนาบัตรประชาชนไทย สำเนาหนังสือเดินทางไทย สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างละ 1 ฉบับ)
- เอกสารของนาย เอ (สำเนาบัตรประชาชนไทยของนาย เอ สำเนาทะเบียนบ้านและ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างละ 1 ฉบับ)
- คำร้องนิติกรณ์เพื่อยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ 1 ฉบับ พร้อมสำเนาเอกสาร ข้อ 2. และ ข้อ 3. เพิ่มอย่างละ 1 ฉบับ เพื่อประกอบคำร้องนิติกรณ์
- ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร
ตัวอย่างที่ 2
- หากท่านประสงค์ที่จะมอบอำนาจให้ นาย เอ ไปขอคัดสำเนาสูติบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอฯ แล้วนำสำเนาสูติบัตรไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กระทรวงการต่างประเทศ และ สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย รวมเป็น 3 หน่วยงาน ท่านจะต้องเตรียม
- แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ 3 ฉบับ และ คำร้องนิติกรณ์ 1 ฉบับ รวมเป็น 4 ฉบับ
- เอกสารของท่าน (สำเนาบัตรประชาชนไทย สำเนาหนังสือเดินทางไทย สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างละ 4 ฉบับ)
- เอกสารของนาย เอ (สำเนาบัตรประชาชนไทยของผู้รับมอบอำนาจ สำเนาทะเบียนบ้านและ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างละ 4 ฉบับ)
- คำร้องนิติกรณ์เพื่อยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ 1 ฉบับ
- ค่าธรรมเนียม 45 ยูโร
- หากท่านประสงค์ที่จะมอบอำนาจให้ นาย เอ ไปขอคัดสำเนาสูติบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอฯ เพียง 1 หน่วยงาน ท่านจะต้องเตรียม
หนังสือให้ความยินยอมให้บุตรไปทำหนังสือเดินทาง
การรับรองลายมือชื่อของบุคคลที่ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือให้ความยินยอม ผู้ร้องจะต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือให้ความยินยอม มีดังนี้
- แบบฟอร์มหนังสือให้ความยินยอม จำนวน 1 ฉบับ
- แบบคำร้องนิติกรณ์ จำนวน 1 ฉบับ
- เอกสารของผู้ให้ความยินยอม
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาหนังสือเดินทางไทย (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล จำนวน 2 ฉบับ (หากมี)
- เอกสารของผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จะพาบุตรไปทำหนังสือเดินทาง
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล จำนวน 2 ฉบับ (หากมี)
- เอกสารของบุตร
- สำเนาบัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งาน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย) จำนวน 2 ฉบับ (หากมี)
- สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาสูติบัตร หรือ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล จำนวน 2 ฉบับ (หากมี)
- ค่าธรรมเนียมฉบับละ 15 ยูโร (ชำระเป็นเงินสด เป็นธนบัตรครบตามจำนวน หรือ ชำระด้วยบัตร Bancontact)
รับรองลายมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก
- สำหรับเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กและประสงค์จะนำไปใช้ในประเทศไทย เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่าที่ออกโดยหน่วยงานราชการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก หรือ
- สำหรับเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย
- การแปลเอกสาร: สถานเอกอัครราชทูตไม่มีข้อบังคับเรื่องการแปลเอกสาร ทั้งนี้ผู้ร้องต้องตรวจสอบกับหน่วยงานปลายที่จำเอกสารไปยื่นว่าต้องการฉบับแปลด้วยหรือไม่ หากหน่วยงานปลายทางในประเทศไทยต้องการเอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทย ท่านต้องดำเนินการแปลก่อนนำเอกสารไปยื่น ณ หน่วยงานราชการไทยโดยมีขั้นตอนดังนี้
- เอกสารดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลสาบานตน (sworn translator)ดูข้อมูลนักแปลที่สถานเอกอัครราชทูตมี ณ ปัจจุบันได้ที่นี่ โดยนักแปลจะต้องเย็บต้นฉบับและฉบับแปลเข้าด้วยกันพร้อมประทับตราของนักแปลที่มุมซ้ายบน
- หลังจากนั้นจะต้องนำเอกสารฉบับแปลไปรับรองการแปลที่กระทรวงยุติธรรมของประเทศที่นักแปลสาบานตนจดทะเบียน
- กรณีเอกสารออกโดยทางการเบลเยียม และนักแปลจดทะเบียนในเบลเยียม ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมเบลเยียม
- กรณีเอกสารออกโดยทางการลักเซมเบิร์ก และนักแปลจดทะเบียนในลักเซมเบิร์ก ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมลักเซมเบิร์ก
- กรณีเอกสารออกโดยทางลักเซมเบิร์ก และนักแปลจดทะเบียนในเบลเยียม ให้ไปรับรองที่กระทรวงยุติธรรมเบลเยียม
- และ นำเอกสารทั้งต้นฉบับไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศที่ออกเอกสารต้นฉบับนั้นและนำฉบับแปล (ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงยุติธรรม) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของประเทศเดียวกันกับกระทรวงยุติธรรม (แบบสติ๊กเกอร์กระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์)
- ที่ตั้งกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม (Federal Public Service Foreign Affairs, Foreign Trade and Development Cooperation) Rue des Petits Carmes 15, 1000 Bruxelles
- ที่ตั้งกระทรวงการต่างประเทศลักเซมเบิร์ก (Ministry of Foreign and European Affairs) 9, rue du Palais de Justice, Luxembourg L-1841
**ท่านสามารถแปลเอกสารจากภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาไทยได้ แต่ต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองคำแปลที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยอีกครั้ง**
การรับรองลายมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก เตรียมเอกสารดังนี้
- คำร้องนิติกรณ์ 1 ชุด พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
- เอกสารต้นฉบับที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ( แบบสติ๊กเกอร์กระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์)
- (หากมี) เอกสารฉบับแปลที่มีการประทับตรารับรองจากกระทรวงยุติธรรมของประเทศที่นักแปลสาบานตนจดทะเบียนไว้ และได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
- สำเนาเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับประทับตรานิติกรณ์รับรองลายมือ : https://diplomatie.belgium.be/en/legalisation-documents
การขอรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
ในกรณีนี้ กงสุลจะรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทย
- คำร้องนิติกรณ์ 1 ฉบับ พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
- เอกสารต้นฉบับที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สำเนาเอกสารตามข้อ 2 ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
หมายเหตุ: ไม่มีบริการส่งเอกสารคืนทางไปรษณีย์ (เพื่อป้องกันต้นฉบับเอกสารราชการไทยของท่านสูญหาย)
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
ใบรับรองสัญชาติ (Certificate of Nationality)
เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- แบบฟอร์มขอยื่นคำร้องนิติกรณ์ คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- บัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งานพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมลายเซ็น)
- หนังสือเดินทางไทยพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมลายเซ็น)
- ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร ต่อการขอเอกสาร 1 ฉบับหรือ 1 ตราประทับ
- ***กรณีที่ผู้อื่นมายื่นขอเอกสารแทน โปรดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้***
- หนังสือมอบอำนาจเป็นภาษาไทย โดยระบุเอกสารที่ต้องการขอ ชื่อ-นามสกุลของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ชัดเจน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้มายื่น 1 ฉบับ
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
ใบจารีตประเพณี (Certificate of Custom)
เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- แบบฟอร์มขอยื่นคำร้องนิติกรณ์ คลิกที่นี่ (กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
- บัตรประชาชนไทยที่มีอายุการใช้งานพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมลายเซ็น)
- หนังสือเดินทางไทยพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมลายเซ็น)
- ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร ต่อการขอเอกสาร 1 ฉบับหรือ 1 ตราประทับ
- ***กรณีที่ผู้อื่นมายื่นขอเอกสารแทน โปรดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้***
- หนังสือมอบอำนาจเป็นภาษาไทย โดยระบุเอกสารที่ต้องการขอ ชื่อ-นามสกุล ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ชัดเจน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้มายื่น 1 ฉบับ
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
การรับรองลายมือชาวต่างชาติ
สถานเอกอัครราชทูตไม่มีอำนาจในการรับรองลายมือชาวต่างชาติโดยตรง ยกเว้นกรณีลงนามในหนังสือให้ความยินยอมให้บุตรไปทำหนังสือเดินทาง
ชาวเบลเยียมและลักเซมเบิร์ก หรือชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กที่ประสงค์ลงนามในเอกสารไทย หรือเอกสารที่จะนำไปใช้ในประเทศไทย เช่น หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือรับรองเพื่อซื้อขายที่ดิน(กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
- เอกสารที่ต้องการลงนาม (ชาวเบลเยียมและลักเซมเบิร์กจะต้องลงนามในเอกสารดังกล่าวต่อหน้าโนตารีพับลิค(์Notary) หรือ นายกเทศมนตรี(Mayor/Burgemestre) และชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กชาวต่างชาติจะต้องไปรับรองลายมือชื่อที่สถานเอกอัครราชทูต หรือ สถานกงสุลของประเทศตน + สำเนาหนังสือเดินทาง (หากต้องแสดงประกอบ)
- นำเอกสารจากข้อ 1 ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่ กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก แบบกระดาษ(สติ๊กเกอร์)เท่านั้น ( สถานเอกอัครราชทูตไม่รับตราประทับแบบดิจิทัล)
- นำตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก มารับรองนิติกรณ์อีกครั้งหนึ่งที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ โดยเตรียมเอกสารดังนี้:
- ข้อ 1 : คำร้องนิติกรณ์ 1 ชุด พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
- ข้อ 2 : เอกสารต้นฉบับ(และ สำเนาหนังสือเดินทาง) ที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ( แบบสติ๊กเกอร์กระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์)
- ข้อ 3 : (หากมี) เอกสารฉบับแปลที่มีการประทับตรารับรองจากกระทรวงยุติธรรมของประเทศที่นักแปลสาบานตนจดทะเบียนไว้ และได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
- ข้อ 4 : สำเนาเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 (และข้อ 3) ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
กงสุลจะรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กเท่านั้น (ไม่รับรองความถูกต้องของเนื้อหา)
เอกสารจากประเทศไทยหรือออกโดยหน่วยงานไทยจำเป็นต้องได้รับการรับรองสำเนาและรับรองนิติกรณ์ก่อนนำมาใช้งานในต่างประเทศ โดยขั้นตอนมีดังนี้
- ยื่นเอกสาร หรือ ขอคัดสำเนาเอกสารที่ท่านต้องการเช่น สำเนาสูติบัตร หนังสือรับรองการเกิด ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ใบป.ค.14 ณ หน่วยงานที่ออกเอกสารเช่น ที่ว่าการอำเภอฯ เป็นต้น
- นำเอกสารที่ขอไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ (กดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ และ กดดูสถานที่ให้บริการได้ที่นี่)
- ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ซึ่ง ท่านอาจต้องนำเอกสารไปดำเนินการแปลกับนักแปลหรือสถาบันแปลที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กเป็นภาษาที่หน่วยงานปลายทางในเบลเยียมหรือลักเซมเบิร์กต้องการ เช่น ดัชท์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ทั้งนี้เอกสารทางทะเบียนบางรายการสามารถขอเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ว่าการอำเภอ สามารถดูที่นี่
- นำเอกสารดังกล่าวไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ ที่สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก
- ส่ง/นำเอกสารมายื่นต่อหน่วยงานท้องถิ่นในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก (หากหน่วยงานดังกล่าวต้องการให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์รับรองเอกสารอีกครั้งหนึ่ง ท่านสามารถดูขั้นตอนดังปรากฏข้างล่าง และบางหน่วยงานอาจให้ท่านนำเอกสารไปแปลโดยนักแปลสาบานตนในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กอีกครั้งหนึ่ง)
***หากท่านไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง สามารถขอหนังสือมอบอำนาจ ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์เพื่อให้คนอื่นดำเนินการแทนได้***
การขอรับรองเอกสารที่ผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
ในกรณีนี้ กงสุลจะรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทย
- คำร้องนิติกรณ์ 1 ฉบับ พร้อมระบุจำนวนตราประทับที่ประสงค์ให้รับรอง
- เอกสารต้นฉบับที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สำเนาเอกสารตามข้อ 2 ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 2 ทุกประการ จำนวน 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
ระยะเวลาดำเนินการ 3-7 วันทำการ
การนำเถ้ากระดูกเข้าประเทศไทย
ประเทศไทยไม่มีข้อห้ามญาตินำเถ้ากระดูกที่บรรจุในอัฐิของผู้เสียชีวิตเข้าประเทศ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง
ญาติผู้ที่จะนำอัฐิดังกล่าวออกนอกประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก อาจนำเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศข้างต้นและสถานเอกอัครราชทูตไทย ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิต
- มรณบัตร
- (กรณีบุคคลสัญชาติไทย) ให้ญาติแจ้งเสียชีวิตกับสถานเอกอัครราชทูต เพื่อขอมรณบัตรไทยก่อน (โปรดดูข้อมูลที่ https://www.thaiembassy.be/2021/08/24/death-certificate/)
- (กรณีชาวต่างชาติ) มรณบัตรที่ออกโดยทางการท้องถิ่นเบลเยียม/ ลักเซมเบิร์ก แบบ International Convention (มี 4 ภาษาคือ ดัชต์ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ) ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กแล้ว
- ใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเถ้ากระดูกออกนอกประเทศ ที่ได้รับจากทางการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก [Permit for the transport of human ashes (remains) / Permis de transport de cendres]
- สำเนาเอกสารอื่นๆ เช่นหนังสือรับรองสาเหตุการตายที่ออกโดยแพทย์/โรงพยาบาล หรือเอกสารการเผาศพ
- ใบรับรองการไม่ห้ามนำเถ้ากระดูกที่บรรจุในอัฐิของผู้เสียชีวิตเข้าประเทศไทย ที่ออกโดย สถานเอกอัครราชทูตฯ
- โดยจัดเตรียมเอกสารประกอบเพื่อยื่นคำร้องที่สถานเอกอัครราชทูต ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิต 1 ฉบับ
- สำเนามรณบัตร 1 ฉบับ
- (กรณีบุคคลสัญชาติไทย) ให้ญาติแจ้งเสียชีวิตกับสถานเอกอัครราชทูต เพื่อขอมรณบัตรไทยก่อน (โปรดดูข้อมูลที่ https://www.thaiembassy.be/2021/08/24/death-certificate/)
- (กรณีชาวต่างชาติ) มรณบัตรที่ออกโดยทางการท้องถิ่นเบลเยียม/ ลักเซมเบิร์ก แบบ International Convention (มี 4 ภาษาคือ ดัชต์ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ) ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กแล้ว
- ใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเถ้ากระดูกออกนอกประเทศ ที่ออกโดยจากทางการเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก [Permit for the transport of human ashes (remains) / Permis de transport de cendres] 1 ฉบับ
- สำเนาเอกสารอื่นๆ เช่นหนังสือรับรองสาเหตุการตายที่ออกโดยแพทย์/โรงพยาบาล หรือเอกสารการเผาศพ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนสำเนา และ/หรือ หนังสือเดินทางของผู้เคลี่อนย้าย 1 ฉบับ
- สำเนาหลักฐานแสดงความแสดงความสัมพันธ์ของผู้เคลื่อนย้ายและผู้เสียชีวิต 1 ฉบับ (หากมี)
- คำร้องนิติกรณ์ 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
- โดยจัดเตรียมเอกสารประกอบเพื่อยื่นคำร้องที่สถานเอกอัครราชทูต ดังนี้
ระยะเวลาดำเนินการ: 3-7 วันทำการ
การพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อใช้การขอหนังสือรับรองความประพฤติ
สถานเอกอัครราชทูตฯ รับทำการพิมพ์ลายนิ้วมือให้เท่านั้น โดยผู้ร้องต้องไปส่งเอกสารไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อติดต่อขอหนังสือรับรองความประพฤติด้วยตัวเอง มี 2 วิธี
- ติดต่อที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อขอส่งเอกสารไปยื่นคำด้วยตนเอง
- มอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปติดต่อทำการแทน
หากประสงค์จะขอหนังสือรับรองความประพฤติกรุณาเตรียมเอกสารตามคำเเนะนำของศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สามารถตรวจสอบข้อมูลและดาวน์โหลดเเบบฟอร์มได้จาก https://pcscenter.sbpolice.go.th/th
เอกสารที่ต้องนำมาประกอบการขอพิมพ์ลายนิ้วมือที่ มีดังนี้
- คำร้องนิติกรณ์ 1 ฉบับ
- รูปถ่าย 3 รูป
- สำเนาบัตรประชาชนไทย 3 ฉบับ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาพาสปอร์ตไทย 3 ใบ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาทะเบียนบ้าน 3 ใบ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาเอกสารที่ระบุจุดประสงค์การขอหนังสือรับรองความประพฤติ และชื่อหน่วยงานที่จะนำไปยื่น 3 ฉบับ
โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม https://pcscenter.sbpolice.go.th/news/APPLICANTRESIDINGINABOARD_32.html
หนังสือรับรองเพื่อซื้อขายที่ดิน(กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ)
กรณีคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมที่ดิน คือคนไทยและคู่สมรสต่างชาติจะต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันในหนังสือรับรองต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดิน ว่าเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวมิใช่สินสมรส
***กรณีที่คู่สมรสต่างชาติอยู่ต่างประเทศและไม่สามารถไปบันทึกถ้อยคำในหนังสือรับรองได้ให้คนต่างชาติไปติดต่อโนตารีพับลิค สถานเอกอัครราชทูต หรือ สถานกงสุลของคนชาตินั้นเพื่อขอรับรองลายมือชื่อคนต่างชาติคนนั้น***
ขั้นตอนการดำเนินการ
- การรับรองลายมือชื่อของคู่สมรสชาวต่างชาติ
- กรอกข้อความในแบบฟอร์มหนังสือรับรองเพื่อซื้อขายที่ดิน(กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) โดยอาจกรอกข้อความเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามความเหมาะสม และนำเอกสารไปดำเนินการตามขึ้นตอนใน “การรับรองลายมือชาวต่างชาติ” https://www.thaiembassy.be/2022/02/11/non-thais-signature-certification/ เมื่อแล้วเสร็จ ให้คู่สมรสชาวไทยนำเอกสารดังกล่าวไปแสดงและลงนามต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานที่ดิน ***ทั้งนี้ยังไม่ต้องนัดหมายบริการนิติกรณ์รับรองลายมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก (Legalisation) ในระบบนัดหมาย หากคู่สมรสชาวไทยไม่สามารถไปลงนามต่อหน้าเจ้าพนักงานได้ด้วยตนเอง (โปรดดำเนินการต่อตามข้อ 2)
- การรับรองลายมือชื่อของคู่สมรสชาวไทย
- กรณีที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ให้ดำเนินการลงนามต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานที่ดิน
- กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ให้นำเอกสารฉบับเดียวกันมารับรองลายมือชื่อของคู่สมรสชาวไทยที่สถานเอกอัครราชทูต โดยเลือกนัดหมาย “บริการเอกสาร” – หนังสือรับรองเพื่อซื้อขายที่ดิน(กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) โดยเจ้าหน้าที่จะรับรองลายมือคนไทยและประทับตรารับรองนิติกรณ์ลายมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ในบริการเดียวกัน (***การลงนามของบุคคลสัญชาติไทย ต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ห้ามลงนามมาก่อน)
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- ข้อ 3.1 ใบคำร้องนิติกรณ์ 1 ชุด
- ข้อ 3.2 เอกสารต้นฉบับตามข้อ 1 ที่มีการลงนามและได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก ( แบบสติ๊กเกอร์กระดาษเท่านั้น *สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองตราประทับที่เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์) และสำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรสต่างชาติ(หากต้องแสดงประกอบ)
- ข้อ 3.3 เอกสารของคู่สมรสชาวไทย ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาหนังสือเดินทาง อย่างละ 1 ฉบับ (หากเอกสารต้นฉบับที่ต้องลงนามมีมากกว่า 1 ฉบับให้เตรียมเอกสารของคู่สมรสชาวไทยในข้อนี้เพิ่มตามจำนวนของเอกสารต้นฉบับด้วย เพื่อแนบประกอบเอกสารที่ต้องลงนาม)
- ข้อ 3.4 สำเนาเอกสารตามข้อ 3.2 และข้อ 3.3 ที่เหมือนเอกสารตามข้อ 3.2 และข้อ 3.3 ทุกประการ จำนวน 1 ชุด(เพื่อยื่นประกอบคำร้องนิติกรณ์)
- ค่าธรรมเนียมตราประทับละ 15 ยูโร
ระยะเวลาดำเนินการ: 3-7 วันทำการ
ข้อมูลสำหรับชาวเบลเยียมและลักเซมเบิร์กที่จะแต่งงานในประเทศไทย
สำหรับชาวเบลเยียม
https://thailand.diplomatie.belgium.be/fr/services-consulaires/mariage-certificat-de-non-empechement-mariage (ภาษาฝรั่งเศส)
https://thailand.diplomatie.belgium.be/nl/consulaire-diensten/huwelijk-attest-geen-huwelijksbeletsel (ภาษาดัชท์)
สำหรับชาวลักเซมเบิร์ก
https://bangkok.mae.lu/en/service_citoyens/Marriage.html (ภาษาไทย)
https://bangkok.mae.lu/en/service_citoyens/marriage.html (ภาษาอังกฤษ)