สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เยือนกรุงบรัสเซลส์
งานวันแม่ ณ วัดไทยธรรมาราม

ประธานสภาธุรกิจไทย-อียูเยือนบรัสเซลส์และลักเซมเบิร์ก มุ่งสร้างเครือข่ายธุรกิจไทย-อียู

หลังจากการประชุมสภาธุรกิจไทย-อียู (EU-Thai Business Council) UK Chapter นำโดยปลัดกระทรวงพาณิชย์ ณ กรุงลอนดอน ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานสภาธุรกิจไทย-อียู พร้อมด้วยภรรยา คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ได้เดินทางเยือนกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงแห่งยุโรป และลักเซมเบิร์ก เพื่อแนะนำสภาธุรกิจไทย-อียูกับองค์กรธุรกิจของยุโรปและลักเซมเบิร์ก เพื่อหาลู่ทางสร้างและขยายเครือข่ายระหว่างภาคเอกชนไทย-อียูให้แข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. ชิงชัยฯ พร้อมด้วยอัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ ศิรินารถ ใจมั่น ในการพบปะเพื่อหารือกับองค์กรธุรกิจยุโรปหลายองค์กร ได้แก่ Eurochambres, EuroCommerce, BusinessEurope และ BSCI ภายใต้องค์กร Foreign Trade Association (FTA) เพื่อหาลู่ทางสร้างและขยายเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจไทย-อียู ทั้งในเชิงนโยบายด้านธุรกิจการค้า และการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจในเชิงรูปธรรมร่วมกัน 

สภาธุรกิจไทย-อียู (EU-Thai Business Council) ตั้งขึ้นเมื่อ เม.ย. 2551 เพื่อสร้างอำนาจต่อรองของธุรกิจต่ออียู และสร้างเครือข่ายระหว่างธุรกิจไทย-อียู ประกอบด้วยผู้แทนของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย รวม 9 คน และผู้แทนจากสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้องอีก 6 คน โดยมีผู้แทนจากภาครัฐทำหน้าที่ที่ปรึกษา ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร และกระทรวงการคลัง

ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ กรรมการบริหารสภาหอการค้าไทย กรรมการบริหารและกรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทล็อกซเลย์ ผู้คร่ำหวอดในวงการการค้าระหว่างประเทศ เข้ารับตำแหน่งประธานคนแรกของสภาธุรกินไทยอียู มีวาระการดำเนินงาน 2 ปี

 กิจกรรมที่บรัสเซลส์ (27-29 ก.ค. 2551) ใน ระหว่างที่พำนักอยู่ ณ กรุงบรัสเซลส์  ดร. ชิงชัยฯ พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตฯ และอัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ ได้เข้าพบหารือกับองค์กรธุรกิจยุโรป สาระสำคัญดังนี้

Eurochambres: เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 ในช่วงเช้า ดร. ชิงชัยฯ พร้อมด้วยอัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ ได้เข้าพบหารือกับนาย Mr. Dirk Vantyghem ตำแหน่ง Director of International Affairs ของ EuroChambres ซึ่งเป็นองค์กรที่มีรูปแบบและโครงสร้างคล้ายคลึงกับสภาหอการค้าแห่งประเทศ ไทย

Eurochambres มีสมาชิกคือหอการค้าของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศยุโรปอื่นๆ (National Chambers) 45 แห่ง และ Transnational Chamber 1 แห่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายหอการค้าท้องถิ่นประมาณ 1,706 แห่ง ครอบคลุมบริษัทเอกชนกว่า 19 ล้านบริษัททั่วยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนของหอการค้าประเทศสมาชิกในยุโรปในการผลักดัน หรือ lobby ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนและผลประโยชน์ของภาคธุรกิจยุโรป กับหน่วยงานของอียู รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิก/และเครือข่ายกิจกรรม ระหว่างประเทศผ่านทางโครงการร่วมต่างๆ นอกจากนั้น Eurochambres ยังสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนกับ counterpart (หอการค้าประจำชาติ/ภูมิภาค) ทั่วโลก และมีกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา กับหอการค้าเหล่านั้นเป็นประจำ ซึ่งที่ผ่านมามีความร่วมมือที่ต่อเนื่องและเหนียวแน่นกับญี่ปุ่นและเกาหลี ใต้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.eurochambres.com)

จากการหารือกับ ดร. ชิงชัยฯ Eurochambres สนใจสร้างพันธมิตรกับภาคธุรกิจไทย โดยเน้นการร่วมกันจัดกิจกรรมเชิงรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง trade, e-business, best practice, capacity building, chamber management อาทิ การจัดกิจกรรม Chamber Academy ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับการสร้างเครือข่ายในหมู่ Executives ของหอการค้าและแลกเปลี่ยนความรู้/ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินธุรกิจกับอียู โดยมีวิทยากรและ Trainers จากยุโรปไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่ผู้แทนจากหอการค้าในประเทศไทย ซึ่ง ดร. ชิงชัยก็สนใจและเห็นว่าน่าจะเป็นกิจกรรมที่ผลักดันให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต

Eurochambres ยังแจ้งว่าอียูจะสนับสนุนการจัดตั้ง EU Centres ในเอเชีย ในจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อส่งเสริมและให้ข้อมูลแก่ SMEs ยุโรปเพื่อเข้าตลาดเอเชีย สำหรับ EU Centre ในประเทศอินเดีย Eurochambres จะเป็นผู้บริหารโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ โครงการ EU Centres ในเอเชียเป็นโครงการในเชิงรูปธรรมเพื่อสนับสนุนแผนการ Global Europe: Competing in the World ที่ออกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป นาย Peter Mandelson กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า เพื่อมุ่งเน้นการเข้าตลาดต่างประเทศของธุรกิจยุโรป

Eurochambres ยังเน้นความสำคัญของโครงการ European Chambers Aboard ของ Eurochambres ว่าส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งหอการค้าของสหภาพยุโรปในต่างประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งในประเด็นนี้ ดร. ชิงชัยฯ แจ้งว่าสภาธุรกิจไทย-อียู ที่ได้จัดตั้งขึ้น แล้วนั้น จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวในประเทศไทย ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันสภาธุรกิจไทย-อียูเน้นการประสานความร่วมมือกับองค์กรธุรกิจในยุโรป ในลักษณะ ?positive reinforcement? และเน้นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ผ่านการดำเนินการโครงการและกิจกรรมในเชิงรูปธรรม

EuroCommerce

เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 ดร. ชิงชัยฯ พร้อมด้วยอัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ ได้เข้านาง Christel Davidson ตำแหน่ง Advisor ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร EuroCommerce ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของผู้นำเข้า ผู้ค้าปลีก ค้าส่ง และผู้ดำเนินการค้าระหว่างประเทศของยุโรป ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ มีหน้าที่เฝ้าระวังและ lobby สหภาพยุโรปในประเด็นและนโยบายการค้าของสหภาพยุโรปที่อาจส่งกระทบหรือมีผล ประโยชน์ต่อสมาชิก มีสมาชิกกว่า 100 ราย เป็นสมาคมการค้าของยุโรป (National Trade Associations) จาก 30 ประเทศ รวมทั้งบริษัทผู้นำเข้าใหญ่ อาทิ Carrefour, IKEA, Metro ฯลฯ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.eurocommerce.be)

EuroCommerce มีสมาชิกจำนวนหนึ่งเป็นบริษัทผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีกของยุโรป จึงมีท่าทีเกี่ยวกับประเด็นด้านการค้าของสหภาพยุโรปในหลายประเด็นที่คล้าย คลึงและเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศที่สาม ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกมายังงสหภาพยุโรป อย่างประเทศไทย จึงน่าจะเป็น counterpart ที่ดีของฝ่ายไทย

Business Social Compliance Initiative (BSCI)

ดร. ชิงชัยฯ ได้มีโอกาสหารือกับนาย Lorenz Berzau ตำแหน่ง Managing Director ของ BSCI ระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน (28 ก.ค. 2551) เกี่ยวกับโอกาสการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนยุโรปในประเด็น Corporate Social Responsibility (CSR)

BSCI ตั้งขึ้นเมื่อ มี.ค. 2003 ภายใต้ Foreign Trade Association (FTA) เป็นตัวอย่างของความร่วมมือของภาคเอกชนยุโรปเพื่อเป็นเวทีการหารือเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ (Code of Conduct) และระบบการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสังคมในกระบวนการผลิตเพื่อ จัดทำ common monitoring system และ code of conduct เน้นประเด็น Corporate Social Responsibility (CSR) โดยเฉพาะด้านสังคมและแรงงาน (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่  www-bsci-eu.org)

นาย Lorenz Berzau แจ้งว่า BSCI มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานด้านสังคมในประเทศที่สามที่เป็น ผู้ผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรป และพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตในประเทศที่สามให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน ที่กำหนด ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการในรูปการจัดสัมมนาเพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ในเรื่องนี้ และจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปรับปรุงมาตรฐานด้านสังคม ให้แก่ ตุรกี บังคลาเทศ จีน และเวียดนาม ทั้งนี้ BSCI พร้อมให้ความร่วมมือกับไทยหากภาคเอกชนไทยสนใจ

BusinessEurope

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2551 ดร. ชิงชัยฯ พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตฯ และอัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์ ได้เข้าพบนาย Philippe De Buck, Secretary General ของ BusinessEurope ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมและองค์กรธุรกิจของประเทศสมาชิกสหภาพ ยุโรปและประเทศยุโรป 34 ประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ เพื่อ lobby EU ในประเด็นธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน และนโยบายต่างๆ ของอียู ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของสมาชิก โดยให้ความสำคัญกับประเด็น อาทิ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจยุโรปผ่านยุทธศาสตร์ Lisbon ของอียู, good governance, internal market, reform of social system และ CSR โดยเฉพาะเรื่องพลังงานและสภาวะโลกร้อน ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในปัจจุบัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.businesseurope.eu)

BusinessEurope เป็นองค์กรธุรกิจที่มีเครือข่ายใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการยุโรป และเป็น lobbyist ด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงมากที่สุดองค์กรหนึ่งในบรัสเซลส์ เน้นสนับสนุนการค้าเสรี การเจรจาการค้าพหุพาคีในกรอบ WTO และติดตามความคืบหน้าการเจรจา FTA ระหว่าง EU กับประเทศต่างๆ รวมทั้ง ASEAN อย่างใกล้ชิด

ในการนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้ฝาก Secretary General ของ BusinessEurope ให้ผลักดันกับคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการอำนวยความสะดวก Business Visa แก่นักธุรกิจไทยที่เดินทางมายุโรปเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจการค้ากับ อียู โดยขอให้ประเทศสมาชิกอียูช่วยอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น ซึ่ง BusinessEurope ได้รับจะไปผลักดันคณะกรรมาธิการยุโรปในประเด็นดังกล่าวต่อ ไป

กิจกรรมที่ลักเซมเบิร์ก

เมื่อวันที่ 30 กค. 2551 ดร. ชิงชัยฯ ได้เดินทางเยือนสภาหอการค้าลักเซมเบิร์ก (Chamber of Commerce of Luxembourg) และได้พบหารือกับนาย Jean-Claude Vesque ตำแหน่ง Director, Head of International Dept  โดยมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต (น.ส. พันทิพา เอี่ยมสุทธา อัครราชทูตที่ปรึกษา)  และผู้แทนสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุง บรัสเซลส์ (น.ส. พรพรรณี ปิ่นโภคิน อัครราชทูตที่ปรึกษา) เข้าร่วมด้วย

สภาหอการค้าลักเซมเบิร์กเป็นเสมือนสถาบันที่ ปรึกษาของภาครัฐฯ ที่รัฐบาลลักเซมเบิร์กจะต้องเข้ามาปรึกษาเรื่องต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจลักเซมเบิร์ก  ก่อนจัดทำเป็นท่าทีใช้ในการออกกฎหมาย กฎระเบียบ หรือเจรจาภายในอียู หรือกับนอกอียู  นอกจากการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแล้ว ยังทำหน้าที่ล็อบบี้ภาครัฐและอียู  โดยยังมี facilities ด้าน training ให้กับสมาชิกด้วย   สภาหอฯ มีสมาชิกกว่า 40,000 บริษัท

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความสำคัญของขยายลู่ทาง ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ  นาย Vesque แจ้งให้ทราบว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจลักเซมเบิร์กจะนำคณะนักธุรกิจจำนวนประมาณ 20 คน เยือนไทย ระหว่างวันที่ 13-17 พ.ย. 2551  โดยนอกจากพบและหารือกับผู้แทนระดับสูงจากไทยทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยแล้ว จะเป็นประธานพิธีเปิดงานสัมมนาคู่ขนาน 2 งาน และเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยง reception ที่หน่วยงานของตนจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 14 พ.ย. ด้วย   สัมมนาหัวข้อแรกจะเกี่ยวกับโอกาสส่งเสริมการลงทุนกับลักเซมเบิร์กโดยทั่วไป และสัมมนาหัวข้อที่ 2 จะเน้นเรื่องการลงทุนด้านการเงิน/การธนาคาร   เพราะลักเซมเบิร์กเป็นที่ตั้ง ธนาคาร 156 แห่ง  มีเงินกองทุน 2,000 พันล้านยูโร  อันดับสองรองจากนิวยอร์ก   ทั้งนี้ คาดว่าจะเชิญผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 300 คน จากทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย  และได้ทาบทามขอให้สภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมของไทย ร่วมเป็น local partners ด้วย

ดร.ชิงชัยฯ  แจ้งว่า สภาหอฯ ยินดีให้การสนับสนุนการจัดสัมมนาในไทย รวมทั้งช่วยประสานงานการเยือนไทยของคณะฯ  ทั้งนาย Vesque และ ดร.ชิงชัยฯ  ยินดีที่ทราบว่าสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลลส์มีโครงการที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในปี 2552 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับลักเซมเบิร์ก และหนึ่งในโครงการดังกล่าว ได้แก่ การนำคณะนักธุรกิจไทยเยือนลักเซมเบิร์ก และจัดสัมมนาส่งเสริมการลงทุนในไทยด้วย สภาหอฯ ของทั้งไทยและลักเซมเบิร์กยินดีจะให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนัก ธุรกิจอย่างเต็มที่

(ข่าวและภาพถ่ายจาก http://www.thaieurope.net)

ไทย