การเข้าร่วมงานเทศกาลนานาชาติ Hand in Hand ครั้งที่ 2
งาน Potluck เลี้ยงส่งเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำกรุงบรัสเซลส์

หอการค้าเบลเยี่ยมชี้จุดเด่นการทำธุรกิจกับเบลเยี่ยม

หอการค้าเบลเยี่ยมชี้จุดเด่นการทำธุรกิจกับเบลเยี่ยม
Contributed by สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
Thursday, 29 April 2010

เมื่อ วันที่ 23 เมษายน 2553 คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงบรัสเซลส์ (ASEAN Brussels Committe: ABC) ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตจากประเทศอาเซียน และคณะได้เดินทางไปดูงานที่หอการค้าและอุตสาหกรรมประจำเขตแอนท์เวิปและวา สแลนด์ (Chamber of Commerce and Industry (CCI): Antwerp-Waasland Region) ซึ่งมีนายธนพจน เอกโยคยะ รองผู้ช่วยทูตฝ่ายการพาณิชย์ ประจำสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลล์ เข้าร่วมด้วย และได้นำเสนอข้อมูลน่าสนใจสำหรับนักธุรกิจ/ผู้ส่งออกไทยที่สนใจใช้เมือง แอนท์เวิปและวาสแลนด์ เป็นจุดกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆของสหภาพยุโรป

CCI แอนท์เวิปและวาสแลนด์ เป็น 1 ใน 8 CCI ของเขตแฟลนเดอร์  เมืองแอนท์เวิปและวาสแลนด์ มีจุดเด่น 3 ประการคือ
1) เป็นเมืองท่าอันดับสองของยุโรปและมีการคมนาคมที่ครอบคลุมทั้ง ทางบก (รถยนตร์และรถไฟ) ทางน้ำ และทางอากาศ  ซึ่งเหมาะเป็นศูนย์กระจายสินค้าในสหภาพยุโรป
2) เป็นศูนย์กลางการค้าขายเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก (80-85% ของการค้าเพชรของโลก)
3) เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอันดับสองของโลก โดยมีจุดเด่น คือ เน้นการขายสินค้าที่มีคุณภาพ (แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปก็ตาม)  ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคล   การตรงต่อเวลา และบริการที่ตรงต่อความต้องการส่วนบุคคล (tailor made)

CCI ของแฟลนเดอร์มีเป้าหมายในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการทำธุรกิจให้ดีขึ้น โดยมีหลักการ 3 ด้านคือ
1) โน้มน้าวรัฐบาลระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสหภาพยุโรป ให้มีนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก
2) สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านการจัดกิจกรรหลายรูปแบบทั้งเป็นทางการและไม่ เป็นทางการ  รวมทั้งการจัดคณะผู้ประกอบการเข้าพบองค์กรต่างๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เช่น นิวยอร์ค ลอนดอน ดับบลิน เจนีวา เซี่ยงไฮ้ และมีแนวโน้มจะเยือนอาเซียนด้วยในอนาคต
3) ให้บริการจัดสัมมนาและฝึกอบรม ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าและเอกสารเกี่ยวกับการส่งออกอื่นๆ เช่น  เอกสารค้ำประกันค่าภาษีอากรสำหรับการนำเข้าชั่วคราว (ATA Canet) ในลักษณะ one stop shop รวมถึงรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท และจัดให้มีการทำธุรกิจบนเวบไซต์ (visual business platform)

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงในเขตแฟลนเดอร์คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการให้บริการเกี่ยวกับทารก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนากระบวนการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

CCI ของแฟลนเดอร์แจ้งว่าจะมีการสร้างศูนย์กลางซื้อขายสินค้าขายส่งขนาด 200,000 ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงบรัสเซลส์และแอนท์เวิป (ห่างจากบรัสเซลส์ประมาณครึ่งชั่วโมง) เพื่อเป็นตลาดกลางสำหรับสินค้าภายในสหภาพยุโรปและสินค้านำเข้าจากประเทศ ต่างๆ ศูนย์สินค้านี้จะดึงดูดผู้ซื้อจากทั่วยุโรป กระทรวงพาณิชย์อาจจองพื้นที่ในศูนย์สินค้า เพื่อใช้เป็นที่แสดงและจำหน่ายสินค้าไทย แทนการสร้างศูนย์กระจายสินค้าขึ้นเอง

การพบกับภาคเอกชนของแอนท์เวิปครั้งนี้ มีผู้แทน Antwerp World Diamond Centre สนใจศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางตลาดอัญมณีในภาคพื้นเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งโอกาสดีที่จะขยายตลาดและสร้างเครือข่ายการค้าอัญมณี จะมีการพบหารือร่วมกันระหว่างผู้ค้าเพชรของเบลเยี่ยม และสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบลเยี่ยม สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก เข้าร่วมหารือด้วย คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และจะแจ้งรายละเอียดในโอกาสต่อไป

ผู้แทนการท่าเรือของแอนท์เวิปให้ข้อมูลว่า สินค้าที่ขนส่งผ่านท่าเรือ 5 อันดับแรก คือ เหล็ก ผลไม้ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์จากป่า และกาแฟ สินค้าที่ส่งไปประเทศอาเซียนมีสัดส่วนการขนส่งดังนี้ สิงคโปร์ 73% มาเลเซีย 16% อินโดนีเซีย 7% ไทย 2.4% และเวียดนาม 1% เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การท่าเรือฯ มีแผนจะขยายท่าเรือโดยจะเพิ่มท่าเทียบเรือตามแนวฝั่งด้านซ้ายโดยตลอด และจะขุดร่องน้ำให้ลึกขึ้นเพื่อรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ ตลอดจนขยายโครงสร้างถนนและรางรถไฟเพื่อรองรับการขนส่งทางบกต่อไปยังประเทศ ต่างๆ ในสหภาพยุโรป โดยการท่าเรือฯ มีนโยบายเน้นการเชื่อมต่อการขนส่งแบบต่างๆ ให้ครอบคลุม การสร้างคลังเก็บสินค้าที่ทันสมัย และการดำเนินพิธีศุลกากรที่รวดเร็ว

ไทย