งาน Potluck เลี้ยงส่งเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำกรุงบรัสเซลส์
ขอให้มีความสามัคคีปรองดอง เพราะเราทุกคนเป็นคนไทยด้วยกัน แต่อาจคิดต่างกันได้

งาน European Seafood Exposition 2010

Contributed by ทีมงานไทยยุโรป.เน็ต
Friday, 30 April 2010

ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทย 27 รายเข้าร่วมงาน European Seafood Exposition 2010 ที่ Brussels Exhibition Centre กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ 27-29 เม.ย. 2553 งาน European Seafood Exposition เป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลประจำปีแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ในปี 2010 มีบริษัทในวงการอาหารทะเลจาก 140 ประเทศทั่วโลกมาร่วมออกร้านกว่า 1600 ราย มีผู้เข้าชมงานหลายหมื่นคน งาน European Seafood Exposition เป็นแหล่งพบปะของผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ค้าส่งและค้าปลีก ผู้ให้บริการด้านอาหารทะเล และเป็นเวทีที่ผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษากระแสความนิยมของผู้บริโภคและ เทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมและธุรกิจอาหารทะเลของยุโรป เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพธุรกิจไทยเพื่อขยายตลาดยุโรปได้อย่างยั่งยืน

บูทประเทศไทย Kitchen of the World
บูธประเทศไทยตั้งอยู่ใน Hall 7 ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และประสานงานโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าใน ต่างประเทศ ณ กรุงเฮก  นำทีมผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทยเข้าร่วมแสดงสินค้า เน้นภาพลักษณ์ไทยในฐานะ Kitchen of the World ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทกุ้ง ปลา ปลาหมึก และอาหารทะเลแช่แข็งประเภทต่างๆ อาหารทะเลแปรรูป และอาหารทะเลพร้อมรับประทาน  (Ready to Eat)  ในปี 2010 นี้ ผู้ประกอบการไทยได้นำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลพร้อมรับประทานหลากหลายประเภท ทั้งที่ปรุงตามสูตรอาหารไทยและเทศ และสินค้าอาหารทะเลแบบมูลค่าเพิ่มแบบใหม่ๆ มานำเสนอในงานเป็นที่สนใจของผู้ซื้อยุโรป นอกจากนี้ ที่บูธไทยยังได้เชิญชวนชาวต่างชาติให้ลองลิ้มชิมรสอาหารทะเลไทยด้วยการปรุง ของร้าน Blue Elephant ด้วย
food_10

คุณภาพ ความปลอดภัยเป็นหัวใจของธุรกิจไทย
ประมงเป็นสินค้าออกที่สำคัญหมวดหนึ่งของไทยไปตลาดอียู โดยอียูเป็นตลาดหลัก อันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น  ในปี 2550 ไทยส่งออกสินค้าประมงไปอียูมูลค่า 911.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 15 % ของสินค้าประมงที่ไทยส่งไปทั่วโลก โดยมีสินค้าสำคัญคือ ปลาทูน่า (259.8 ล้านเหรียญ)กุ้งแปรรูป (137.6 ล้านเหรียญ) ปลาหมึก (111.5 ล้านเหรียญ) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (98.1 ล้านเหรียญ) และอื่นๆ อาทิ หอย  ปู  ปลาพันธุ์อื่นที่มิใช่ทูน่า (304.3 ล้านเหรียญ)

ผู้ประกอบการไทยมั่นใจถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงของสินค้ากุ้งและอาหาร ทะเลไทย ที่ส่งออกมายังตลาดยุโรป ว่าสามารถทำได้ตามกฎระเบียบและมาตรฐานความปลอดภัยของสหภาพยุโรปได้อย่างครบ ถ้วน อย่างไรก็ดี ยังห่วงกังวลเรื่องการแข่งขันที่สูงในด้านราคาและราคาวัตถุดิบที่สูงกว่าคู่ แข่ง โดยเพราะเวียดนาม จีน ที่สามารถเสนอราคาที่ต่ำกว่าไทยมาก เพราะสามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะเวียดนามได้พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทะเลในลักษณะก้าว กระโดด ปัจจุบัน เวียดนามสามารถผลิตสินค้าอาหารทะเลที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ได้มาตรฐานอียูและมาตรฐานสากล เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับไทย อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยยังมั่นใจว่าคุณภาพ ฝีมือ และความเชื่อถือได้เป็นจุดแข็งที่ผู้นำเข้ายุโรปยังคงให้ความไว้วางใจและ เลือกซื้อสินค้าจากไทยที่สำคัญ ผู้ประกอบการอาหารทะเลไทยยังมุ่งมั่นพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างจุดยืนและความแตกต่างให้กับสินค้าของไทยในตลาดอาหารทะเลยุโรปและ ตลาดโลก

stories.food_30

กระแสสีเขียวในธุรกิจอาหารทะเล
กระแสสีเขียวในการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมในระบบห่วงโซ่การผลิตและการผลิตอย่าง ยั่งยืน เป็นปัจจัยสำคัญในการค้าขายกับยุโรป เพราะเป็นเงื่อนไขที่ภาครัฐ ผู้ค้าปลีก ผู้ซื้อ และผู้บริโภคชาวยุโรปให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยด้านคุณภาพ ความสะอาด และราคา ล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเสมือนเป็นคณะบริหารของอียู จึงได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไม่มีการควบคุม  (Illegal Unreported and Unregulated (IUU) Fishing) เมื่อ 29 กันยายน 2551 และบังคับใช้ระเบียบฉบับใหม่ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 อียูเชื่อว่าการทำประมงผิดกฎหมาย ไม่มีรายงานและขาดการควบคุม เป็นภัยร้ายแรงต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อม

กฎระเบียบ IUU ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสู้ส่งออกสินค้าประมงทั่วโลกรวมทั้งไทย คือ ประเทศเหล่านี้ จะต้องทำการรับรองสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงว่าไม่ได้มาจากการทำประมงแบบ IUU โดยแนบเอกสารการรับรองการจับสัตว์น้ำ (catch  certificate) ประกอบการส่งออกไปอียู กฎระเบียบดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะกับสินค้าประมงที่จับมาจากทะเล อาทิ ปลาหมึก แต่สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา ที่ไทยเลี้ยงเป็นฟาร์มไม่อยู่ในข่าย IUU

ภาคเอกชนไทยที่มาร่วมงาน European Seafood Exposition ได้ยืนยันความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในการทำได้ตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวด ล้อมที่เข้มงวดของอียูดังกล่าว โดยได้ชื่นชมภาครัฐไทย โดยเฉพาะกรมประมงว่าที่มีการเตรียมความพร้อม อาทิ เรื่องเอกสารการรับรองการจับสัตว์น้ำ (catch certificate) และให้ข้อมูลภาคเอกชนไทยได้ครบถ้วนและทันท่วงที สำหรับบริษัทไทยที่ได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมกับระบบใหม่อย่างดีก็จะไม่ได้ รับผลกระทบ

ในขณะที่อียูมีความเข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับการจับปลาและทรัพยากรทาง ทะเลมากขึ้น สินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการเพาะเลี้ยงในฟาร์มหรือ Aquaculture จึงได้รับความสนใจและได้รับการยอมรับมากขึ้นในตลาดยุโรปและผู้บริโภคยุโรป โดยเฉพาะสินค้าสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มที่ดำเนินการอย่างยั่งยืนและ รักษาสิ่งแวดล้อม

ปลานิลเป็นสินค้าที่น่าสนใจสำหรับการเปิดตลาดยุโรปมาก ตัวอย่างบริษัท Grobest Group ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวันที่มาลงทุนในประเทศไทย เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจการค้าอาหารสัตว์ และได้ขยายเป็นการทำฟาร์มปลานิล ในบริเวณจังหวัดนครพนม และผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นส่งออกผลิตภัณฑ์ปลานิลแร่แช่เข็ง ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคยุโรปมากขึ้น เพราะปลานิลสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายประเภททั้งแบบเอเชียและอาหาร ฝรั่ง แทนปลาเนื้อขาว (ที่ชาวยุโรปนิยมรับประทาน อาทิ ปลาค๊อด ที่ราคาค่อนข้างสูง) อย่างไรก็ดี คู่แข่งสำคัญที่เป็นผู้ผลิตปลานิลคือ จีน เพราะผลิตได้ในราคาที่ต่ำกว่ามาก และเวียดนามซึ่งสามารถผลิตปลาเนื้อขาวที่ชื่อว่า Pangasius ได้ในคุณภาพและราคาที่ต่ำกว่าปลานิลของไทย

food_20

มาตรฐานภาคเอกชนยิ่งทวีความสำคัญ0
มาตรฐานภาคเอกชนของยุโรป อาทิ มาตรฐาน Global GAP ซึ่งอันที่้จริงเป็นมาตรฐานในระดับฟาร์มที่ทำได้โดยสมัครใจ แต่ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกและห้างร้านใหญ่ๆ ของยุโรปก็เรียกร้องให้ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำต้องทำมาตรฐานเอกชน เหล่านี้ให้ได้ถึงจะรับซื้่อและรับรองว่าได้มาตรฐานที่จะขายในห้างร้านของตน เวียดนามคู่แข่งสำคัญของไทยเน้นการผลิตสินค้าอาหารทะเลแบบ Mass-production และยังทำมาตรฐานประเภทนี้ได้ไม่มากเท่าทีควรนัก จึงพอมีช่องให้ผู้ประกอบการไทยที่มุ่งมั่นทำได้มาตรฐานเอกชนเหล่านี้แล้วให้ ใช้ช่องว่างตลาดดังกล่าวเข้ามาตีตลาดอียู

งาน European Seafood Exposition เป็นโอกาสดีให้แก่ธุรกิจอาหารทะเลไทยในการเข้าตลาดยุโรป โดยได้มีโอกาสพบปะกับผู้นำเข้ายุโรป พร้อมทั้งดูทิศทางแนวโน้มตลาดอาหารทะเลยุโรปเพื่อพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับ ความต้องการของตลาดยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าอาหารทะเลที่สำคัญที่สุดราย หนึ่ีงของโลก ไม่เพียงแต่เป็นการออกบูธเพื่อพบปะผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายจากในยุโรปและ ประเทศต่างๆทั่วโลก งานดังกล่าวยังเป็นโอกาศสำหรับการสร้างเครือข่ายธุรกิจกับผู้ที่อยู่ในวงการ ที่สำคัญ ภาครัฐไทยยังได้ใช้โอกาสดังกล่าวแสดงให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงอาหารทะเลในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นทั้ง นักธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง นักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป เห็นความจริงจังในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานอาหารทะเลไทย อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจอาหารทะเลไทยในตลาดยุโรปและ ในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
European Seafood Exposition http://www.euroseafood.com
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ http://www.depthai.go.th/
Thailand Kitchen of the World: http://thailand.prd.go.th/ebook/kitchen/index.html
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.fisheries.go.th
เว็บไซต์ระบบตรวจสอบย้อนกลับ กรมประมง http://www.thaitraceshrimp.com
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง http://www.thai-frozen.or.th

ไทย