แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 10
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประเทศหรือเมืองที่เป็นเขตติดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

อียูออกนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก H5N8

            ตามที่ได้มีรายงานข่าวการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธ์ H5N8 ในฟาร์มเลี้ยงสัตยว์ปีก ในหลายเมืองของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร นั้น ส่งผลให้ คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธ์ H5N8 ใน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรจำนวน 3 ฉบับ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 57 และ 17 พ.ย. 57 โดยสั่งการให้ทางการเยอรมนี เนเธอแลนด์ และสหราชอาณาจักร ดำเนินมาตรการตามกฎระเบียบคณะมนตรียุโรป Council Directive 2005/94/EC on Community measures for the control of avian influenza เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 48 อย่างเคร่งครัดและเร่งด่วน รวมถึงการกำหนดพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวัง โดย  Commission Implementing Decision ทั้ง 3 ฉบับนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 22 ธ.ค. 57

            ในส่วนของเบลเยียม ซึ่งมีชายแดนติดกับเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ นั้น เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 57 ทางการเบลเยียมได้สั่งการให้ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อการพาณิชย์ในเบลเยียมกักกัน (Confine) สัตว์ปีกของตน เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกที่พบในเนเธอร์แลนด์ และความเป็นไปได้ที่นกป่าอพยพจะเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเป็นงานอดิเรกดำเนินมาตรการป้องกันด้วยโดยนำสัตว์ปีกไปเลี้ยงในโรงเลี้ยงปิด หรือคลุมพื้นที่เลี้ยงที่เปิดโล่งด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันการสัมผัสกับนกป่า

            ทั้งนี้ ยังไม่มีการตรวจพบว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อไปยังมนุษย์แต่ให้ติดตามเฝ้าระวังและควบคุม เพื่อลดความเสี่ยง ปกติประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกทั้งไก่และเป็ดจากอียู ในปริมาณไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อไก่สดแช่แข็ง โดยในปี 2556 ไทยนำเข้าจากอียู 6,667 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในปี 2557 ข้อมูลเดือนสิงหาคม ไทยนำเข้าจากอียูแล้ว 4,697 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกำชับผู้นำเข้าให้มีความระมัดระวังการนำเข้าเนื้อไก่จากอียู เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนกดังกล่าว ซื่งเป็นไปตามความตกลง SPS ของ WTO นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปยังอียู อาจพิจารณาหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีก โดยเฉพาะในเขตเมือง/ประเทศที่มีการตวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N8  

***************

 

ไทย