Welcoming Remarks by H.E. Mr. Nopadol Gunavibool
At The First Thailand – Belgium Science, Technology and Innovation Forum
Increasing Competitiveness: Knowledge Management in Science, Technology and Innovation
Monday 23rd February 2015, Bangkok
(Please check against delivery)
* * * * *
Good morning ladies and gentlemen,
ผมขอกล่าวเปิดการประชุมเป็นภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมชาวต่างชาติก่อนนะครับ จากนั้นผมจะกล่าวเป็นภาษาไทยครับ
Thank you Professor Doctor Danny Pieters, Vice Rector of KU Leuven, for accepting our invitation and joining us at this event. We also appreciate your support in identifying the right speakers for this forum. We have combination of speakers from public sector and university which will allow us to have a comprehensive overview of landscape of science, technology and innovation (STI) and management of STI in Belgium. Dr. Pual Declerck, Dean of Pharmaceutical of KU Leuven and Mr. Gerard Cielen, Policy Advisor to the State Secretary for Science Policy will share with us their perspectives on this issue. For the Thai audience, this forum is also a good opportunity to get an update from Director General Chutintorn Gongsakdi, Economic Affairs Department, Ministry of Foreign Affairs on science diplomacy, which is considered a foreign policy tool in driving Thailand’s competitiveness, improving quality of life and sustainable development.
We hope that this forum constitutes a pilot project for science, technology and innovation cooperation between Thailand and Belgium. It will provide a platform for relevant organizations and stakeholders from both sides to maximize the outcome of this activity, enhance partnership, initiate series of follow up activities and continue to work for concrete benefits in the future. I also hope that the success of this initiative will bear fruit not in a too distant future. But it will require sustained and strong commitment from all concerned stakeholders in Thailand and Belgium.
Last but not the least, we will report the outcome of this activity at the 2nd political consultation, at the permanent secretary level of Ministry of Foreign Affairs, expected to be held in June this year in Thailand. This political consultation will be a political push and another mechanism to help sustain such cooperation.
ท่านผู้เข้าร่วมประชุมครับ
ประเทศไทยกับเบลเยียมมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาเกือบ 150 ปี (สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2411) นับว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับราชวงศ์ ในประวัติศาสตร์ นายกุสตาฟ โรแลง ยัคมินส์ ชาวเบลเยียมซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาราชการของ ร. 5 ได้มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงปฏิรูปกฎหมายของไทยจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ประชาชนทั้งสองประเทศมีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน สองฝ่ายมีความร่วมมือหลักในด้านเศรษฐกิจและการค้า และการบิน มีการหารือขยายผลความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปี 2556 พระราชาธิบดีฟิลิป (พระยศในขณะนั้นคือมกุฎราชกุมารฟีลิป) ทรงนำคณะนักธุรกิจ จำนวนมากมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 16-22 มีนาคม 2556 และนายกรัฐมนตรีไทยเยือนเบลเยียมก่อนหน้านั้นคือระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคม ในปีเดียวกัน
ศักยภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างไทยกับเบลเยียมเป็นประเด็นที่ได้รับการหยิบยกขึ้นหารือในทุกโอกาส เนื่องจากเบลเยียมมีจุดแข็งคือความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและมีรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัยและเอกชนที่ส่งเสริมการต่อยอดผลการวิจัยในเชิงพานิชย์ในระดับแนวหน้า โดยเฉพาะด้านชีวเภสัชกรรม ซึ่งความเข้มแข็งด้านนี้ของเบลเยียมสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย
วันนี้ ผมมีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ สวทน. ริเริ่มโครงการนำร่องความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับเบลเยียม โดยประเด็นหลักของการประชุมคือการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทย โดยเรียนรู้จากประสบการณ์และบทเรียนของเบลเยียมในแง่มุมที่ไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทของไทย โดยความร่วมมือกับเบลเยียมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ ยังเป็นการขยายผลประโชยน์แก่ไทยแบบทวีคูณอีกด้วย เนื่องจากจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและเบลเยียมให้ครอบคลุมสาขาที่เป็นยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย และเป็นกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการทูตวิทยาศาสตร์ที่กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับ สวทน. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
การนำผู้เชี่ยวชาญจากเบลเยียมมาเข้าร่วมกิจกรรมที่ประเทศไทยครั้งนี้นั้น นอกเหนือจากมีการประชุมในภาคเช้าแล้ว สถานเอกอัครราชทูตฯ และ สวทน. ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการกลุ่มเล็กมาหารือในเชิงลึกกับฝ่ายเบลเยียมเพื่อแสงหาประเด็นความร่วมมือเฉพาะ รวมทั้งรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและเบลเยียม รวมทั้งการนำผู้เชี่ยวชาญเบลเยียมไปพบปะกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทั้งไทยและเบลเยียมสานต่อความร่วมมือด้าน วทน. ในระดับภูมิภาคอีกช่องทางหนึ่ง
ผมหวังว่า กิจกรรมนี้จะไม่หยุดเพียงวันนี้ แต่เป็นการเปิดมุมมองใหม่และทางเลือกอีกทางหนึ่งให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยขยายผลความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับประเทศเบลเยียมในมิติที่จะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย และผลการประชุมวันนี้จะได้รัยบการต่อยอดเป็นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องในอนคต
ขอบคุณครับ
* * * * *