หนังสือเดินทางไทย (ปรับปรุงล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2565)
ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องไปทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง และหนังสือเดินทางจะถูกผลิตที่กรมการกงสุล กรุงเทพฯ จึงต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งเล่มมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ประมาณ 4-6 สัปดาห์
เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์) ***ดูหมายเหตุข้อ 1 และ 2 ประกอบ***
***หมายเหตุ***
1.1 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น
1.2 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยก่อน
คำแนะนำ = ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อน หรือหากยังไม่มีโอกาสกลับไทย ให้มอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยแทน
(ขอให้ท่านสอบถามรายละเอียด ณ ที่ว่าการอำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร และจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย)
– หากทีี่ว่าการอำเภอฯ อนุญาตให้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านโดยการมอบอำนาจได้ ท่านสามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนัดหมายในระบบออนไลน์ https://appointmentthaiembassybrs.simplybook.it/v2/#book และตรวจสอบรายละเอียดเอกสารสำหรับนำไปยื่นขอหนังสือมอบอำนาจได้ในเว็บไซต์นี้ https://www.thaiembassy.be/legalisation-and-document-services/หรือส่งอีเมล์สอบถามข้อมูลได้ที่ consular.brs@mfa.go.th
2.1 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
คำตอบ = ท่านสามารถยื่นทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น
หากจะทำเล่มต่อไปขอให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
2.2 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้
คำแนะนำ = ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
2.3 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
คำตอบ = สามารถยื่นทำหนังสือเดินทางใหม่ได้หากกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่ โดยต้องมีหนังสือรับรองจาก
สถานศึกษาที่ผู้ร้องกำลังศึกษาอยู่ประกอบกับคำร้อง
– ขอให้หนังสือรับรองจากสถานศึกษาเป็นภาษาอังกฤษหรือไทย แต่ถ้าหากเป็นภาษาอื่นต้องแปลโดยนักแปลสาบานตน (Sworn Translator) ก่อน
– แล้วนำหนังสือรับรองจากสถานศึกษาดังกล่าวพร้อมคำแปลไปรับรองนิติกรณ์ (Legalisation) ที่กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก (Ministry of Foreign Affairs Belgium/Luxembourg)
คำแนะนำ = การแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย หากยังไม่มีโอกาสกลับไทย สามารถมอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้า
ทะเบียนบ้านแทนโดย
– ขอให้ท่านสอบถามรายละเอียดที่อำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร
และจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย
– การทำหนังสือมอบอำนาจสามารถยื่นขอทำได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนัดหมายระบบออนไลน์ที่ https://appointmentthaiembassybrs.simplybook.it/v2/#book และตรวจสอบรายละเอียดเอกสารสำหรับนำไปยื่นขอหนังสือมอบอำนาจได้ในเว็บไซต์นี้ https://www.thaiembassy.be/legalisation-and-document-services/
หรือส่งอีเมล์สอบถามได้ที่อีเมล์ดังนี้ consular.brs@mfa.go.th
2.4 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว
– เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
– มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว
– มีบัตรประชาชนไทยแล้ว แต่ยังมีคำนำหน้าชื่อในบัตรเป็น ด.ช. / ด.ญ. (กรณีที่ผู้ร้องมีอายุ 15 ปีเป็นต้นไป)
คำตอบ = ต้องนัดหมายทำบัตรประชาชนใหม่ก่อนที่ https://appointmentthaiembassybrs.simplybook.it/v2/#book แล้วจึงสามารถยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางใหม่ได้
3.1 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = ทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)
หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ passport.brs@mfa.go.th ราว 2 เดือนก่อนการเดินทาง * ETD
3.2 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = ยังทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)
หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ passport.brs@mfa.go.th ราว 2 เดือนก่อนการเดินทาง *ETD
3.3 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกมีอายุ 5ปี ได้เท่านั้น
คำแนะนำ = สำหรับการทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน
(ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
3.4 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกมีอายุ 5ปี ได้เท่านั้น
คำแนะนำ = สำหรับการทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)
3.5 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = อนุโลมให้ยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางได้ หากในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์แสดงภาพใบหน้าของผู้ร้องที่สามารถยืนยันตัวตนได้
คำแนะนำ = ติดต่อนัดหมาย (ในระบบออนไลน์) เพื่อทำบัตรประชาชนใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
3.6 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
คำตอบ = ไม่ได้สามารถทำได้ ต้องทำบัตรประชาชนไทยใหม่ที่ไทยก่อน (*EP/ETD) หรือ ปรึกษาการทำบัตรประชาชนใหม่ โดยส่งอีเมล์มาที่ passport.brs@mfa.go.th พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนไทยฉบับเดิม สำเนาหนังสือเดินทางไทย บัตรแสดงถิ่นพำนักเบลเยียมและลักเซมเบิร์กที่แสดงใบหน้าชัดเจน และ เอกสารอื่นๆที่ออกโดยทางการไทยที่แสดงใบหน้าชัดเจน (หากมี) ก่อน แล้วจึงสามารถยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางใหม่ได้
*ETD/EP
*ETD/EP
Download
รายการเอกสารเพื่อใช้ทำหนังสือเดินทาง
หมายเหตุ: สามารถขอรับแบบฟอร์มที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้