จดทะเบียนหย่า
หนังสือให้ความยินยอมให้บุตรไปทำหนังสือเดินทาง

จดทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

ข้อมูลทั่วไป

การหย่าต่างสำนักทะเบียน คือ การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายเนื่องจากต่างฝ่ายต่างอยู่คนละแห่ง และไม่สามารถเดินทางไปจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนเดียวกันได้ คู่หย่าต้องตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และ แต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด

กรณีที่ 1 : สำนักทะเบียนในประเทศไทยและสำนักทะเบียนในต่างประเทศ (สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล)

สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย

สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สถานเอกอัครราชทูตฯ

การหย่าต่างสำนักทะเบียน คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย

คู่หย่าที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียนในประเทศไทยก่อน เอกสารการหย่าจากคู่หย่าที่ไทยจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับแล้ว

คู่หย่าที่อยู่ประเทศเบลเยียมสามารถเข้ามาดำเนินการจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเป็นสำนักทะเบียนออกทะเบียนหย่าให้

เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน โดยมีเอกสารดังนี้

  1. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า (ฝ่ายหญิงต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสด้วยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ และ ฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้งาน
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ และ หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้งาน  (กรณีหากเป็นชาวต่างชาติให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศตัวเอง)
  4. สำเนาบัตรประชาชนของพยานทั้งสองคน ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
  6. ใบสำคัญทะเบียนสมรสฉบับจริง

ผู้ร้องจะได้รับเอกสาร 2 ฉบับในวันที่มาแจ้ง

1. ใบสำคัญการจดทะเบียนหย่า

2. ทะเบียนหย่า”ต่างสำนักทะเบียน”

สถานอัครราชทูตฯจะส่งใบสำคัญการจดทะเบียนหย่าอีกฉบับผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทยให้แก่คู่หย่าอีกฝ่ายที่อยู่ประเทศไทย


กรณีที่ 2 : สถานเอกอัครราชทูตฯต้นทางและสถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง

สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สถานเอกอัครราชทูตฯต้นทาง

สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง

การหย่าต่างสำนักทะเบียน คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูตฯต้นทาง

คู่หย่าที่อยู่ประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และ จะต้องเตรียมเอกสารจากคู่หย่าที่อยู่ประเทศปลายทางเพื่อประกอบการยื่นขอ เอกสารการหย่าจากคู่หย่าที่ประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์กจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ

สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง จะเป็นสำนักทะเบียนออกใบสำคัญการจดทะเบียนหย่าให้

เอกสารจากคู่หย่าสถานเอกอัครราชทูตฯต้นทาง โดยมีเอกสารดังนี้

  1. หนังสือสัญญาหย่า ต้องกรอกข้อความรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งข้อตกลงเรื่องทรัพย์สิน บุตร และอื่นๆ และคำนำหน้า ชื่อ ฝ่ายหญิงหลังการหย่า โดยคู่หย่าที่อยู่ประเทศปลายทางและพยาน 2 คน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯต้นทาง และให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อแลัประทับตรารับรองลายมือชื่อของคู่หย่าและพยานทั้งสองด้วย (ส่วนช่องลายมือคู่หย่าฝ่ายที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทางให้เว้นว่างไว้ เพื่อมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง)
  2. สำเนาเอกสารประจำตัวของคู่หย่าฝ่ายที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตฯต้นทางและพยานทั้งสองคน ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า (ฝ่ายหญิงต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสด้วยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

เอกสารจากคู่หย่าสถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง โดยมีเอกสารดังนี้

  1. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า (ฝ่ายหญิงต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสด้วยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ และ ฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้งาน
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ และ หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้งาน  (กรณีหากเป็นชาวต่างชาติให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศตัวเอง)
  4. สำเนาบัตรประชาชนของพยานทั้งสองคน ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
  6. ใบสำคัญทะเบียนสมรสฉบับจริง

สถานเอกอัครราชทูตฯต้นทางจะจัดส่งเอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง ดำเนินการเพื่อออกใบสำคัญการจดทะเบียนหย่า ซึ่งสำนักทะเบียน ณ สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทางจะมอบใบสำคัญการจดทะเบียนหย่าให้แก่คู่หย่าที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตฯปลายทาง และจะจัดส่งใบสำคัญการจดทะเบียนหย่าอีกฉบับผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานเอกอัครราชทูตฯต้นทาง เพื่อมอบให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก

หากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ : consular.brs@mfa.go.th

ไทย